“สสส. เป็นเครื่องมือการสื่อสาร Stories ที่ทำให้เขาไป Telling ต่อกับคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นฟีดแบ็คเลยกลับเข้ามาแบบเร็วมากในการที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันเกิดการรับรู้ซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น Storytelling ของ สสส. เลยไม่ได้เป็น Storytelling แบบเอกชนที่บอกว่าตัวเองเป็นยังไง แต่เป็นการบอกสังคมแล้วชวนสังคมให้ช่วยกันบอกต่อสิ่งเหล่านี้ เลยไม่ได้สำคัญว่างานแต่ละชิ้นต้อง Endorse ด้วยโลโก้ สสส. เราไม่เคยให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นเท่ากับว่าสังคมเห็นความสำคัญ”
จึงมีหลายครั้งที่เราหยิบยกคำพูดหรืองานของ สสส. ออกไปต่อสู้กับปัญหาใกล้ตัว โดยที่เราไม่รู้เลยว่า หน่วยงานที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้คือใครกัน
แต่นั่นก็คือ เป้าหมายที่ สสส. ต้องการ เพราะการที่สังคมบอกต่อเรื่องราวที่ดี เรื่องราวที่จะทำให้สังคมมีความสุข คงจะดีกว่าการมาบอกว่าใครเป็นคนทำเรื่องนี้
“คนจะรู้จัก หรือไม่รู้จัก สสส. ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่การที่คนลุกขึ้นมาทำบางอย่างเพื่อให้สังคมรอบข้าง หรือตัวเองดีขึ้น มีความสุขขึ้น นั่นคือเรื่องใหญ่กว่า”