หากมองจากพฤติกรรม เมื่อเวลาผ่านไป ผู้บริโภคทุกคน ย่อมต้องการประสบการณ์การซื้อหาสินค้าบริการที่สะดวก รวดเร็ว ครบถ้วน สมบูรณ์แบบในที่ๆเดียว
ด้านการจับจ่ายใช้สอย ผู้บริโภคทุกคน ย่อมต้องการบริการทางการเงินเรียบง่าย ใช้งานง่าย สะดวกสบายพร้อมตอบสนองความคาดหวังใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าว องค์กร เทคโนโลยีชั้นนำ เทคโนโลยีใหม่ นำมาซึ่งยุคทองแห่งนวัตกรรมในการให้บริการทางการเงิน
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore-MAS) มองเห็นความสำคัญของเรื่องข้างต้น นำสู่การประกาศรับผู้สมัคร สำหรับกิจการผู้ให้กู้ออนไลน์ 5 ราย การสมัครเริ่มกลางปี 2019 สิ้นสุดเดือนธันวาคม มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเพิ่มการแข่งขันและนวัตกรรม กระตุ้นให้องค์กรต่างๆ เข้าร่วม ด้วยความหวังให้มีส่วนร่วมในการบริการธุรกิจขนาดเล็ก และ Millennials กลุ่ม “Underserved” ซึ่งยังต้องการเงินทุนสูง
Full Banking Licence มีใบอนุญาตพร้อมอนุมัติ 2 ใบ กิจการต้องมีทุนจดทะเบียนรับชำระแล้ว 1.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ดำเนินงานไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี (หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 22.34 บาท)
ขณะที่ Wholesale Bankingl Licence ใบอนุญาตพร้อมอนุมัติ 3 ใบ กิจการต้องมีทุนจดทะเบียนรับชำระแล้ว 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และอนุญาตให้ต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ทั้งนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ ประกาศเมื่อวันอังคาร ( 7 มกราคม) ว่า มีผู้สมัคร 21 ราย
ใน 21 ราย มีผู้สมัคร Full Banking Licence 7 ราย Wholesale Bankingl Licence 14 ราย โดยรัฐบาลจะประกาศผลช่วงกลางปี 2020
รายชื่อองค์กรผู้สมัครบางราย ประกอบด้วย
Ant Financial ของ Jack Ma
Consortium ของกลุ่ม V3 ที่รวมผู้ให้บริการบัตร EZ-Link กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ Far East Organisation และ Mitsui Sumitomo Insurance Grab ผู้นำแอพ Ride-hailing และ Singtel Telco
Razer บริษัทเกม ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เข้าประมูลสิทธิแบบ Full Bank Licence โดยแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ ระบุว่า Razer Fintech ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จะจัดตั้ง Razer Youth Bank ขึ้น เพื่อรองรับลูกค้าวัยรุ่น และ Millennials กลุ่ม “Underserved”
แถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า Razer Fintech จะถือหุ้น 60% ใน Razer Youth Bank ส่วนที่เหลือได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรใน Consortium ซึ่งมี Sheng Siong Holdings, FWD, Linksure Global, Insignia Ventures Partners และ Carro
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ Razer Fintech มีผลิตภัณฑ์การเงินนำเสนอในตลาดอยู่แล้ว คือ Digital Wallet ใช้ชื่อ Razer Pay และหน่วยงานบริการลูกค้าดิจิทัล Razer Merchant Services.
Grab-Singtel จับมือขอใบอนุญาต Full Licence
Grab และ Singtel ได้ยื่นขอใบอนุญาตธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบในสิงคโปร์ ทั้งสองฝ่ายจับมือเป็น Consortium โดย Grab ถือหุ้น 60% และ Singtel ถือหุ้นที่เหลือ
แถลงการณ์ระบุว่าทั้งสององค์กรตั้งใจตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่ม Digital-First ที่ต้องการความสะดวกสบายแบบ Personalisation มากขึ้น เพราะการขาดคุณสมบัติเข้าถึงสินเชื่อของ SME ยังคงเป็น Pain Point ที่หวังว่าจะได้รับการแก้ไข ด้วยความแข็งแกร่งของทั้งสององค์กร ซึ่งมีบริการทางการเงินหลายประเภทอยู่แล้ว เช่น Dash, VIA, GrabPay และ GrabInsure
“ภารกิจหลักของ Grab ที่มีอยู่ และไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ การแก้ปัญหาความท้าทายในชีวิตประจำวัน และปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขั้นตอนต่อไป คือ การสร้างธนาคารดิจิทัลที่เน้นเรื่อง Customer-Centric อย่างแท้จริง ซึ่งจะมอบบริการธนาคารและการเงินที่หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย โปร่งใส ราคาไม่แพง” Reuben Lai กรรมการผู้จัดการอาวุโสของ Grab Financial Group กล่าว
หากได้ใบอนุญาตธนาคารดิจิทัลจะช่วยให้ Grab เข้าใกล้เป้าหมายการเป็น Super App รวมถึงขยับสถานะสู่การเป็น Regional Fintech Player ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบัน Grab เป็นผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร พัสดุภัณฑ์ รวมถึงการชำระเงินดิจิทัล และบริการทางการเงิน ใน 339 เมืองใน 8 ประเทศ
FinTech จีนร่วมแข่งขัน
Ant Financia ของ Jack Ma เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลแบบ Wholesale Banking Licence กับธนาคารกลางสิงคโปร์ โดยจะช่วยให้ขยายตลาดลูกค้าองค์กรในเมืองหลวง
มีรายงานข่าวจาก Business Times ด้วยว่า ByteDance Technology ของจีน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการแอพแชร์วิดีโอ TikTok ก็ยื่นขอ Wholesale Banking Licence เช่นเดียวกัน
iFast Corp จากจีน ในนามของ Yillion Group และ Hande Group เข้าร่วมขอใบอนุญาต Wholesale Bank Licence ปัจจุบัน Yillion Group เป็นเจ้าของ 1 ใน 4 ธนาคารดิจิทัลในจีน ขณะที่ Hande Group ก่อตั้งโดย Cao Tong อดีตประธานของ WeBank ธนาคารดิจิทัลแห่งแรกในจีน ซึ่งบริหารโดย Tencent
iFAST เป็น Wealth management fintech platform ซึ่งหากคิด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2019 มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการมูลค้าถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์