ด้าน สุรัชดา เตรียมชุมพร Business Development Manager Shoplus เสริมว่า หลังจากที่เราเริ่มเข้าไปจับมือกับแบรนด์ต่างๆ พบว่า แต่ละแบรนด์มี Pain Point หลายอย่าง อย่างแรกคือ พอเขาเพิ่งผันตัวจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ มาทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง ปรากฏว่า ยอดวิวหรือยอดคนดูไม่พอ บางทีเพิ่งเริ่ม คนดูน้อยมาก ทำให้กระทบต่อยอดขายเขาเลยมองหาระบบที่เข้ามาปลั๊กอิน ทำให้ระบบหลังบ้านเขาง่ายขึ้น
“อีกส่วนหนึ่งก็คือ คนจะมาไลฟ์ให้กับเขา อันนี้สำคัญ ต้องเป็นมืออาชีพ สามารถเข้าใจ Identity ของแบรนด์ และเข้าใจสินค้านั้นๆ ได้ดี ต้องมีความเชี่ยวชาญของระบบและแบรนด์ ถือเป็นความท้าทายของแบรนด์ที่ต้องการหา KOL ที่สามารถเข้ามาปลั๊กอินได้ทันที ที่สำคัญยังสามารถช่วยเติมเต็มจำนวนคนดูจากแฟนเบสของ KOL มาสู่การไลฟ์สดได้อีกด้วย ช้อปพลัส จึงเป็นตัวที่เข้ามาช่วยเติมเต็มในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี”
ตัวอย่างที่เป็นภาพสะท้อนในเรื่องนี้ก็คือการปรับกลยุทธ์การทำตลาดใหม่ของแบรนด์อย่าง NaRaYa และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ AJ ที่หันมาใช้ Shoplus ในการทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง โดย NaRaYa เป็นการเห็นตัวอย่างจากการทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง ในประเทศจีน จึงเข้ามาใช้กลยุทธ์นี้ในการทลาย Pain Point ของตัวเองที่เกิดจากการที่นักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเป็นลูกค้าหลักไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในบ้านเราได้ จึงใช้การทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มดังกล่าว
ขณะที่แบรนด์อย่าง AJ เป็นการมูฟจากการขายผ่านช่องทางออฟไลน์มาสู่ออนไลน์ จึงเลือกวิธีการทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง เพื่อช่วยให้แบรนด์เข้าถึงโอกาสในการขายใหม่ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากไล่เลียงกลยุทธ์การกระตุ้นการขายของแบรนด์สินค้าต่างๆ ในบ้านเรา จะพบว่า ช่วง 3 – 4 ทศวรรษก่อนหน้า แต่ละแบรนด์จะนิยมการใช้กลยุทธ์ในรูปแบบของ P to P ซึ่งจะเป็นการส่งพนักงานขายไปแนะนำหรือสาธิตการใช้สินค้าถึงบ้าน ตัวอย่างของแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้ก็มี อาทิ สินค้าในกลุ่มของเครื่องใช้ในครัวเรือนอย่างซุปเปอร์แวร์ เป็นต้น
ก่อนที่จะขยับมาสู่การทำในเรื่องของการสาธิตหรือการทดลองใช้สินค้าจริงที่เคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า พัฒนาไปสู่การทำ Shelf Management ที่ใช้การกระตุ้นการขาย ณ จุดขาย ผ่านพนักงาน PC และวิวัฒนาการไปสู่การขายในรูปแบบของการขายผ่าน “ไลฟ์ เซลลิ่ง” หรือ “ไลฟ์ สตรีมมิ่ง” ในปัจจุบัน
การ Rethink Business Model ใหม่ของแบรนด์ต่างๆ บางครั้ง อาจจะใช้วิธีการ Share Resources ใน Business Model ที่ใช้ในการดำเนินการ ซึ่งการทำหน้าที่ในการเป็น “คนกลาง” ที่ช่วย “ปลั๊กอิน” ในการทำไลฟ์ สตรีมมิ่ง ของ Shoplus นับเป็นทางออกที่จะช่วยให้การ Rethink Business Model เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่ายขึ้น.....