มาดูที่ตัว Business Modelในขาใหม่ของบาร์บีคิวพลาซ่ากันบ้าง ที่ขยับตัวออกมาสู่ธุรกิจ Retail ทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ และการปรับเอาสินค้าเดิมมาพัฒนาภายใต้แบรนด์ “Gon” ที่อยู่ในกลุ่ม อาหารพร้อมรับประทานทาน หรือ Ready to Eat และวัตถุดิบพร้อมปรุงอาหาร หรือ Ready to Cook
แม้ว่าจะเป็นการขายจริงตามคอนเซปส์ที่วางไว้แล้ว แต่ บุณย์ญานุช ก็บอกกับเราว่ายังคงเป็นการทดสอบตลาดเพื่อคนหาความต้องการที่มีความหลากหลาย ก่อนหน้านี้มีไปทดสอบตามห้างสรรพสินค้า และครั้งนี้ก็มาที่ตึกเอ็มไพร์ กลุ่มคนทำงาน และ เดอะมอล์บางแคที่เป็นกลุ่มครอบครัว
และ บุณย์ญานุช ก็ยังเดินหน้าในการทดสอบตลาดตามจุดต่างๆ ต่อไป อย่างสถานทีรถไฟฟ้า แม้ว่าบางพื้นที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน แต่ช่วงเวลาในการซื้อก็มีความต่างกัน แน่นอนว่าสินค้าและบริการก็อาจจะมีความแตกต่างกัน เธอบอกว่านั่นคือหัวใจสำคัญที่จะต้องค้นหาให้เจอ
นี่คือวิธีคิดของแบรนด์ที่ทำให้เราได้เห็นถึงการขยับตัวเพื่อหาทางรอด คงไม่มีใครอยากกลับไปในจุดที่แสนสาหัสเหมือนครั้งที่ต้องปิดหน้าร้านทุกสาขาจนรายได้เป็น 0 อีกแน่ ทางเลือกยังมี เพื่อให้เกิดทางรอด แต่อยู่ที่ว่าเราจะลองเลือกทางไหนเท่านั้นเอง
“อะไรที่เคยเจ๊ง ที่เคยพลาดหรือไม่สำเร็จ ในวันแรก ไม่ได้เจ๊งอย่างคิด มันอาจะผิดที่ ผิดเวลา เท่านั้นเอง สุดท้ายแล้วทุกอย่างคือความเจ๊งที่ไม่เจ๊ง เพราะมีบทเรียนระหว่างทางเสมอ วิธีการทำงานที่ถูก การตั้งคำถามที่ถูก ผลลัพท์อาจจะไม่ถูกก็ได้ จนกว่าจะได้ลงมือทำ”
เราคงจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ ที่ “คาดไม่ถึง” จากบาร์บีคิวพลาซ่า และพี่ก้อนอีกแน่ๆ เพราะนี่ขนาดแค่เดือนครึ่ง ยังผุดตู้แช่ออกมาได้ขนาดนี้ ไม่รู้จะว่าจะขุดวิชาไหนมาเดาทางพี่แกได้เลยครับ
ภาพของดาวเหนือเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ การเป็นแค่ร้านอาหารปิ้งย่างคงจะไม่สามารถทำให้แบรนด์เดินไปถึง การเป็นแบรนด์ที่เข้าไปอยู่ในชีวิตของผู้คนและยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ในยุค Digital Economy โดยมีบาร์บีกอนเป็นผู้ส่งมอบ ธุรกิจนี้ก็คงจะไม่ใช่จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย เพราะภาพดังกล่าวก็ยังไม่ได้สมบูรณ์ แต่แน่นอนว่านี่คือจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนสำคัญที่จะเปิดทางให้บาร์บีคิวพลาซ่าสามารถทำให้เป้าหมายดังกล่าวสมบูรณ์แบบ
คงต้องตามกันต่อไปสำหรับแบรนด์เลือดนักสู้ ที่ไม่รู้จักเจ็บ “บาร์บีคิว พลาซ่า”