หากจะสรุป “แทคติค” ที่ “สาวบาวแดง” ใช้ คงจะออกมาได้ประมาณนี้คือ
1.สาวบาวแดงส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ พูดภาษาเดียวกันกับลูกค้าและร้านค้า จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าถึงตัวพวกเขา จนกลายเป็นตัวช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับผู้บริโภคและร้านค้า
2.มีโครงสร้างที่ชัดเจนในรูปแบบของพนักงานประจำที่มีการอบรม สร้างขอบข่ายงาน และแบ่งสายงานอย่างชัดเจน ด้วยชื่อเรียกลำดับขั้นที่มีความแปลกใหม่ เช่น เสนาธิการ, ทหารเสือ, ขุนศึก, รองขุนศึก, สาวบาวแดง ผู้ช่วย ม้าเร็ว เป็นต้น การแบ่งโครงสร้างงานที่ชัดเจนแบบนี้ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.เป็นทีมการตลาดที่กล่าวได้ว่าใหญ่ที่สุดของประเทศเพราะมีถึงกว่า 600 คน แบ่งออกเป็น 80 ทีม กระจายกำลังออกเป็น 7 โซน คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพฯ โดยการสร้างทีมที่แข็งแกร่งนั้นยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยวิเคราะห์อย่างตัวแอพพลิเคชั่นของสาวบาวแดงที่ช่วยวิเคราะห์ให้ถึงความหนาแน่นของทราฟฟิกในแต่ละพื้นที่ว่าควรจะเข้าไปทำกิจกรรมในพื้นที่ไหนก่อน
4.มีความชัดเจนในแง่ของการทำงานที่จะเริ่มจากการออกไปเยี่ยมผู้บริโภคในชุมชนช่วงเช้า หลังจากตลาดวายก็จะเข้าไปเยี่ยมร้าน ติดโปสเตอร์ แบนเนอร์ เรียงสินค้าในตู้แช่ พร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับร้านค้าและสร้างสัมพันธภาพที่ดี
5.ผสานกลยุทธ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเข้ามาช่วยทำให้สาวบาวแดงบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยช่วงเวลาหนึ่งเคยมีการ Tie In เข้าไปในรายการวิทยุลูกทุ่งมหานคร พร้อมกับใช้สาวบาวแดงเข้าไปในพื้นที่เพื่อหาผู้โชคดีมาเล่นเกม ซึ่งการสร้าง Pull Out ออกมาในรูปแบบเล่นเกมกับ Target Group เช่น เข้าไปตามวินมอเตอร์ไซค์ หรือพ่อค้า แม่ค้าในตลาด จะเป็นอีกตัวช่วยในการสร้างสีสันให้ถูกพูดถึงมากขึ้น
“สาวบาวแดง” จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยที่ทำให้การผสานกลยุทธ์ “Push & Pull Marketing” ทำออกมาได้อย่างลงตัว...