อย่างครั้งหนึ่ง มีการนำนักร้องดังอย่างชากีร่า เข้ามาร่วมเล่นกับนักฟุตบอลชื่อดัง หรือการนำสตรีท อาร์ต เข้ามาช่วยเพิ่มสีสันในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิล เมื่อ 2 ครั้งที่แล้ว ถือเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่สามารถสร้างสีสันให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นสปอนเซอร์หลักอย่างเป็นทางการ
สิ่งที่เป๊ปซี่ทำอีกอย่างก็คือ เป๊ปซี่จะรวมเอานักบอล+สัญลักษณ์ของเจ้าภาพ+บรรยากาศแบบสนุกสนาน เข้ามาผสมผสานกัน เพื่อรีมายด์ไปถึงฟุตบอลโลก ซึ่งจะเป็นการมอบประสบการณ์ที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลกได้อย่างลงตัว
ว่ากันว่า การดำเนินกลยุทธ์สปอร์ต มาร์เก็ตติ้งนี้ มักจะหนีไม่พ้นการใช้เครื่องมือหลักๆ 3 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โฆษณา เพื่อสร้างอะแวร์เนสให้กับแบรนด์ การเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ชิพ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกีฬาให้กับผู้บริโภค ส่วนเครื่องมือตัวสุดท้ายคือ โปรโมชั่น เพื่อช่วยในเรื่องของการสร้างยอดขาย เพราะเมื่อมีการลงทุนในเรื่องของงบการตลาดเพื่อทำแคมเปญขึ้นมา ก็ต้องมองถึงการรีเทิร์นกลับมาอาจจะมีทั้งที่เป็นยอดขาย และที่เกี่ยวเนื่องกับแบรนด์
อย่างไรก็ตาม มุมของการทำสปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควรในยุคที่เรื่องของการสร้าง Engagement ซึ่งแต่ละแบรนด์จะใช้สปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง เข้ามา Engage ลูกค้าผ่านการมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่หยิบเอามาเป็นแกนหลักในการทำ
การ Engage ที่ว่านี้ อาจจะออกมาในรูปของการมอบประสบการณ์ในการพาไปชมฟุตบอลโลกถึงขอบสนามในที่นั่งที่ดีที่สุด หรือการทำในเรื่องของ CSR ในรูปแบบของการเปิดคลินิกฟุตบอลสำหรับเด็ก หรือเยาวชนไทย เป็นต้น
ขณะที่ตัวแบรนด์เองอาจจะเลือกวิธีการ Inspire ผู้บริโภค โดยชูในเรื่องของสปิริต ความมุ่งมั่นของนักกีฬา ซึ่งเป็นแนวทางที่กำลังนิยมทำกันในปัจจุบัน
แน่นอนว่า ทั้งหมดถูกนำมาใส่ไว้ในการทำ Ambush Marketing ของเป๊ปซี่ในแต่ละครั้ง.....