เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักแบรนด์ของเล่นชื่อดังของโลกอย่าง LEGO…
และก็เชื่ออีกว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยเล่น LEGO มาก่อน...
แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก LEGO SERIOUS PLAY ผ่าน Facilitator คนไทย ซึ่งในประเทศไทยมีคนที่สามารถเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อยู่ไม่กี่คน และหนึ่งในนั้นก็คือ ณฤดี คริสธานินทร์ CEO & Principal Facilitator with LEGO® SERIOUS PLAY® Method บริษัท Eureka Global
LEGO SERIOUS PLAY คืออะไร แตกต่างจาก LEGO ที่คนทั่วโลกคุ้นเคยอย่างไร?
ณฤดี อธิบายว่า LEGO Group เป็นแบรนด์ผู้ผลิตของเล่นเสริมทักษะที่ก่อตั้งขึ้นมา 89 ปีแล้ว จนมาถึงช่วงปลายของยุค 90’s LEGO ได้รับผลกระทบจากการเทคโนโลยีที่เข้ามา Disruption ในของตลาดของเล่นจากเกมคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย
การได้รับความนิยมของเกมคอนโซลทำให้เด็กทั่วโลกเปลี่ยนกระบวนการเล่น เปลี่ยนกระบวนการ Engagement จากที่ LEGO เคยเป็น Top Brand ในตลาดของเล่น เมื่อเด็กเปลี่ยนไป Engage กับหน้าจอแทน ทำให้ยอดขายของ LEGO ลดลง Mr.Kjeld Kirk Kristiansen CEO ของ LEGO Group ในสมัยนั้นจึงหาทางที่จะเปลี่ยนวิธีการคิดกลยุทธ์ในองค์กร
“Mr.Kjeld Kirk Kristiansen เชื่อว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่เวลามาประชุมทุกครั้งก็มักจะได้ความคิดแบบเดิมๆ หรือว่าเป็น Incremental Improvement ซึ่งไม่ใช่เป็นความคิดที่จะช่วยให้ LEGO สามารถสู้กับการที่ตลาดของเล่นกำลังถูก Disrupt ได้ จน Mr.Kjeld มีโอกาสได้ไปเข้าอบรมหลักสูตรผู้นำที่ IMD Business School ที่ Lausanne และได้ตั้งคำถามกับ Professor ว่ามีวิธีการอะไรที่จะสามารถเปลี่ยนวิธีการคิดกลยุทธ์ในองค์กรได้
คำตอบที่ได้รับก็คือ ในเมื่อ LEGO มีของเล่นอยู่ในมือ ทำไมไม่ลองเอา LEGO มาใช้ในห้องประชุมบอร์ด ซึ่งเป็นคำตอบที่เปรียบได้กับการที่มีเหรียญไหลลงมาจากฟากฟ้าเพราะสามารถเปลี่ยนวิธีคิดขององค์กรได้เป็นอย่างมาก”
หลังจากวันนั้น LEGO ที่เคยเป็นแค่ของเล่นเด็กก็ถูกเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้กลายเป็นเครื่องมือในการช่วยคิดกลยุทธ์และเปลี่ยนวิธีการทำงานในเชิงธุรกิจ LEGO Group มีการตั้งทีมงานเล็กๆ ในองค์กรแล้วก็ลองคิดค้นกระบวนการที่ชื่อว่า LEGO SERIOUS PLAY ขึ้นมาเพื่อใช้ในการวางกลยุทธ์ภายในองค์กร
“Mr.Kjeld มองว่าจะทำอย่างไรให้ LEGO คิดกลยุทธ์ได้โดย Build จากตัวตนของเรา หมายความว่า LEGO จะไม่ลืมว่า Core หรือแก่นขององค์กรคืออะไร LEGO จะไม่เป็นสิ่งที่เราไม่ได้เป็น โดยมองไปที่แกนกลางไม่ใช่ไปเกาะอยู่ตรง Product เช่น ถ้าคุณเป็นเสือ คุณก็จะต้องรู้ตัวก่อนว่าคุณเป็นเสือ คุณจะล่าแบบไหน ไม่ใช่คุณเป็นหมูแต่คุณนึกว่าคุณเป็นเสือก็ตาย ถ้าเป็นหมูก็ต้องรู้ตัวว่าคุณจะต้องหลบ เพราะฉะนั้นเหมือนคุณจะต้องรู้ตัวก่อนว่าตกลงคุณคือใคร”
หลักคิดของ LEGO SERIOUS PLAY คือทำอย่างไรที่จะช่วยให้ทีมงานสามารถแก้ปัญหาอะไรบางอย่างที่เป็นปัญหาจริงๆ หรือว่า Create Value อะไรบางอย่างร่วมกัน
“Power of Play เวลาเราเล่นเกมหรือเล่นอะไร เราทุกคนถือว่ามีความสำคัญเท่ากัน เหมือนเราเล่นไพ่กันแล้วมีคนลุกออกจากโต๊ะไปทำธุระ ที่เหลือก็จะต้องรอ เพราะฉะนั้น LEGO SERIOUS PLAY จะมีหลักคิดที่มีหลายแนวทาง แต่มีสึ่งหนึ่งที่ชอบมากคือ Remember the Lonely Guy ในทุกๆ องค์กร หรือในทุกๆ กลุ่มของแผนก ของครอบครัวก็มักจะมีคนที่เป็น Lonely Guy ในบางแง่มุม เช่น อาจจะเป็นคนที่เพิ่งเข้ามาใหม่ หรืออาจจะเป็น CEO ก็ได้ที่ไม่สามารถเล่า Creature อะไรบางอย่างที่ตัวเองมีอยู่ได้ทั้งหมดให้กับคนในองค์กร หรืออาจจะเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่เป็น Leader อยู่ในนั้นก็ได้ หรือมันอาจจะเป็นความรู้สึกอะไรบางอย่างที่ไม่มีใครสนใจ เหมือนกับว่าฉันอยู่ตรงนั้นแต่ไม่มีใครได้ยินฉัน”
LEGO SERIOUS PLAY ถูกใช้ในองค์กรมาพักใหญ่และหยุดธุรกิจไปจนกระทั่งMr.Robert Rasmussen และMr. Per Kristiansen อดีตผู้บริหารที่ดูแล LEGO SERIOUS PLAYได้ก่อตั้งAssociation of Master Trainers in LEGO SERIOUS PLAYMethodขึ้นมาและทำงานร่วมกับLEGO Foundation เพื่อทำหน้าที่สร้างFacilitator โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากLEGO Group