“เราไม่ได้พัฒนาสินค้าโดยเน้นเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เรามองเทรนด์ความต้องการอื่นๆ ของลูกค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยด้านสุขภาพในช่วงโควิด-19 และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากตลาดเมืองไทยจำหน่ายเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊คปีละกว่า 2 ล้านเครื่อง เราจึงพยายามหาทางที่จะนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยเพิ่มไลน์อัพ Acer Vero เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนโน้ตบุ๊คในกลุ่มกรีนขึ้นมา 30% ภายใน 5 ปี”
อย่างไรก็ตาม คุณนิธิพัทธ์ กล่าวว่า ความเชื่อมั่นในเอเซอร์อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เป็นผลมาจากบริการหลังการขายที่บริษัทลงทุนตั้งแต่วันแรกของการดำเนินธุรกิจ ทำให้บริการหลังการขายของเอเซอร์แตกต่างจากเจ้าอื่น เพราะเป็นการบริหารการจัดการเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยไม่จ้างเอาท์ซอร์ส อีกทั้งยังมีคลังอะไหล่ของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการให้บริการได้ตามมาตรฐานและสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนกับลูกค้าถึงระยะเวลาการซ่อมที่แน่นอนได้
“ปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าในปัจจุบันต่างจาก 10 ปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด เดิมทีผู้บริโภคจะมองสเปกเครื่อง ความทนทาน การใช้งาน และแบรนด์เป็นเรื่องหลัก ส่วนบริการหลังการขายเป็นเรื่องท้ายๆ แต่ไม่กี่ปีมานี้บริการหลังการขายแซงขึ้นมาอยู่ในปัจจัยลำดับต้นๆ เพราะลูกค้าไม่ได้ซื้อเป็นเครื่องแรกอีกต่อไป ดังนั้นจึงนำประสบการณ์การซื้อของถูกแต่ไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องศูนย์บริการมาชั่งน้ำหนัก ทำให้ปัจจัยที่ให้ความสำคัญกับบริการหลังการขายสูงมากขึ้น”