2. Refocus
มี Focus ก็ต้องมี Refocus
ช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนักๆ คนทั่วโลกต้องหยุดการเดินทางลงเกือบจะ 100% ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับค้าปลีกที่เคยพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติจึงได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ Under Armour ก็เช่นกัน
ปริศนา อธิบายว่า COVID-19 ทำให้ Under Armour ต้องกลับมาคิดใหม่ และมองหาโอกาสการขายใหม่ๆ ที่จับต้องได้ ทั้งในส่วนช่องทางการขายและกลุ่มเป้าหมาย
แน่นอนว่าคำตอบสุดท้ายในสถานการณ์ COVID-19 คงหนีไม่พ้นกลุ่มเป้าหมายในประเทศ
“เราปรับช่องทางการขายมาเน้นออนไลน์มากขึ้นเว็บไซต์ของเราปรับเป็น 2 ภาษาภายในเวลา 2 เดือนเพื่อทำให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเราพัฒนาเรื่องของเซอร์วิสให้ง่ายคนตอบคำถามก็ใช้ภาษาไทยมี Customer Service อยู่เมืองไทยทำให้ทำงานง่ายและคล่องตัว
ช่วงที่ร้านปิด เราก็เทรนพนักงานเพื่อพัฒนากการให้บริการที่ดีขึ้น การปรับตัวที่เร็วทำให้เราประคองธุรกิจมาได้แม้ว่ากิจกรรมการตลาดในปีที่แล้วเบาลงเพราะ COVID-19”
ในส่วนของร้านค้า Under Armour เองก็มีการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมคนไทยมากขึ้น
ปริศนา เล่าว่าคนที่เคยเข้ามาร้านในยุคแรก อาจจะรู้สึกว่า Brand House ของ ปริศนา ดูหนักแน่น กล้ามโต ซึ่งเป็นเรื่องจริง เพราะในยุคแรกของการเข้ามาทำตลาด Under Armour จำเป็นต้องวางโพซิชันนิ่งให้ชัดเจนแตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งๆที่ในร้านจะมีไลน์สินค้าที่ตอบโจทย์ครบทุกไลฟ์สไตล์ก็ตาม
แต่ปัจจุบัน Under Armour ก็มีการปรับโฉมร้านค้าใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ City Concept Store ซึ่งสะท้อนถึงตัวตนของ Under Armour ผสานเข้ากันอย่างลงตัวกับความเป็นไทย และที่สำคัญคือให้ภาพลักษณ์ดูซอฟต์ลงมา
Under Armour มีการเปิดตัว Brand House ภายใต้แนวคิด City Concept Store เป็นครั้งแรกที่สาขา เมกา บางนา ในปี 2564 และล่าสุดก็ปรับปรุงสาขาสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็น Flagship Store ของ Under Armour ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นสาขาที่ 2
การปรับในครั้งนี้ก็เพื่อขยายฐานลูกค้าในแนวกว้างที่สนใจการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมหรืองานอดิเรก แต่ยังไม่ถึงกับขนาดที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาร่างกายไปจนถึงระดับ Performer ซึ่งกลุ่มเป้าหมายใหม่กว้างกว่ากลุ่มเป้าหมายเดิมหลายเท่า