กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลจะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่มีตัววัดความสำเร็จ เพราะหากไม่มีสิ่งเหล่านี้จะไม่มีข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำการตลาดดิจิทัล ไม่รู้ว่าเข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายทางการตลาดมากขึ้นหรือไม่
ดัชนีการตลาดดิจิทัลทั้ง 7 นี้จะช่วยวัดความสำเร็จของแคมเปญการตลาดดิจิทัล และปรับแต่งได้เมื่อเวลาผ่านไป
1. Customer Acquisition Cost – CAC (ต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า)
ต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า (CAC) วัดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายสำหรับลูกค้าหนึ่งราย ก่อนที่เขาจะซื้อครั้งแรก ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า การใช้งบประมาณสูงสุดมีประสิทธิภาพดีเพียงใด
การลดต้นทุน CAC ควรเป็นเป้าหมายของทุกธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ยิ่ง CAC น้อยลงก็ยิ่งต้องจ่ายน้อยลง เพื่อให้ได้ลูกค้าใหม่ ทำให้มีเงินเหลือที่สามารถนำไปใช้ลงทุนในด้านอื่นๆ ของบริษัทได้
ดังนั้น ตอนท้ายของแต่ละแคมเปญการตลาด ต้องวัด CAC ของแต่ละช่องทางการตลาดที่ใช้ และพิจารณาเปรียบเทียบว่าช่องทางใดมี CAC ต่ำที่สุด เพื่อให้รู้ว่าจะลงทุนเพิ่มที่ใดในอนาคต
วิธีการคำนวณ CAC ให้ใช้สูตรต่อไปนี้ :
CAC = งบประมาณการตลาดทั้งหมดที่ใช้ตามช่องทางต่างๆ หารด้วยจำนวนลูกค้าใหม่ที่ได้รับในช่วงเวลาที่กำหนด
2. Customer Lifetime Value – CLV (มูลค่าตลอดช่วงชีวิตของลูกค้า)
มูลค่าตลอดช่วงชีวิตของลูกค้า (CLV) คือรายได้ที่ได้รับจากลูกค้าแต่ละราย ตลอดช่วงชีวิตความ สัมพันธ์กับบริษัทของเรา
CLV ยิ่งสูงเท่าไรก็จะได้รายได้จากการขายให้ลูกค้าแต่ละรายมากขึ้นเท่านั้น CLV ยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ยอดเยี่ยมว่า ลูกค้ามีความภักดีเพียงใด และคุณภาพของแบรนด์ของเราป็นอย่างไร หากลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์บ่อยๆ ก็มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะพึงพอใจ
วิธีการคำนวณ CLV ให้คำนวนดังต่อไปนี้:
รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งราย: หารรายได้แบรนด์ทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด (โดยทั่วไปในเวลาหนึ่งปี) ด้วยจำนวนคำสั่งซื้อที่ทำในช่วงเวลานั้น
อัตราความถี่ในการซื้อเฉลี่ย: หารจำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมด ด้วยจำนวนลูกค้าที่ซื้อ
มูลค่าลูกค้า (CV): คูณรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งราย ด้วยอัตราความถี่ในการซื้อเฉลี่ย
ช่วงเวลาที่ลูกค้าเป็นลูกค้าของเราโดยเฉลี่ย: คำนวณจากระยะเวลาที่ลูกค้ายังคงซื้อสินค้าจากเรา
CLV = มูลค่าลูกค้า คูณด้วยช่วงเวลาเฉลี่ยที่ลูกค้าเป็นลูกค้าของเรา
3. Website Traffic (ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์)
Website Traffic คือจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดที่เข้าสู่เว็บไซต์ของธุรกิจของเรา เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ยิ่งมีผู้เข้าชมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงว่า มีความสนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามากขึ้นเท่านั้น การวัดปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ ยังช่วยให้สามารถระบุได้ว่า เนื้อหาประเภทใดมีประสิทธิภาพดีที่สุด และหน้าใดที่กระตุ้นให้เกิดการเข้าชมมากที่สุด
วิธีการวัด: Google Analytics เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่ใช้เพื่อวัดและวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์ ใช้งานได้ฟรี และสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพรายสัปดาห์ หรือรายเดือนของเว็บไซต์ด้วย
Google Analytics ยังช่วยให้สามารถระบุแหล่งที่มาหลักของการเข้าชมได้
4. Website Conversion Rate (อัตราการแปลงเว็บไซต์)
อัตราการแปลง คือการกระทำใดๆ ที่เรามุ่งหวังให้ผู้เยี่ยมชมต้องทำเมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ อาจเป็นผู้เข้าชมแจ้งความจำนงให้ติดต่อกลับเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา หรือสมัครรับจดหมายข่าวไปจนถึงการซื้อผลิตภัณฑ์
หากมีการเข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก แต่อัตราการแปลง (Conversion) ต่ำ อาจเป็นสัญญาณว่ามีอะไรผิดปกติกับประสบการณ์ผู้ใช้ เช่น การออกแบบเว็บ หรือเรื่องของเนื้อหา
วิธีการวัดอัตราการแปลง: ให้กำหนดสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นการแปลง (Conversion) เช่น สมมติว่าเป็นตอนที่ลูกค้าทำการซื้อ แล้วใช้สูตร : อัตราการแปลง (Conversion Rate) = การแปลง (Conversions) หารด้วยผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา X 100
5. SEO rankings (การจัดอันดับ SEO)
การจัดอันดับคำ Keywords หลักที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาด ช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าชมจากข้อความค้นหาที่ลูกค้าพิมพ์ลงใน Google ยิ่งจัดอันดับคำ Keywords ที่เกี่ยวข้องมากเท่าใด ผู้คนก็จะยิ่งรับรู้ถึงสิ่งที่นำเสนอผ่านการค้นหามากขึ้นเท่านั้น
หากรู้ว่าอันดับ SEO อยู่ในระดับต่ำ หมายความว่า ต้องการกลยุทธ์เนื้อหาที่ดีขึ้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กของเรา เราต้องอัพเดทบล็อกของบริษัทด้วยเนื้อหาที่เชื่อถือได้ ซึ่งกำหนดเป้าหมายคำ Keywords ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับรับลิงค์กลับจากเว็บไซต์อื่น ๆ
วิธีที่ดีที่สุดในการวัดการจัดอันดับ คือใช้เครื่องมือ SEO เช่น Google Search Console
6. Customer Churn (การเสียลูกค้า)
Churn คือการสูญเสียลูกค้า หมายถึงจำนวนลูกค้าที่ยกเลิกการสมัคร หรือหยุดซื้อสินค้า
อัตราการเสียลูกค้าที่สูงเกินไป เป็นสัญญาณว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับประสบการณ์ของลูกค้าของเรา การที่ต้องเสียลูกค้าจำนวนมากเกินไป ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลกำไร เพราะต้องลงทุนมากขึ้นในการหาลูกค้าใหม่ จึงต้องคำนวณอัตราการเสียลูกค้า เพื่อเข้าใจสาเหตุที่ลูกค้าเลิกใช้งาน
วิธีการคำนวณอัตราการเสียลูกค้า : จำนวนลูกค้าเมื่อเริ่มต้นช่วงเวลา - จำนวนลูกค้าเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลา หารจำนวนลูกค้าทั้งหมดเมื่อเริ่มต้นช่วงเวลา
7. Lead Attribution (แสดงที่มาของ “ว่าที่ลูกค้า”)
การแสดงที่มา ของ Lead หรือ ว่าที่ลูกค้า (ผู้ที่มีแนวโน้มอาจจะเป็นลูกค้า) เกี่ยวข้องกับการระบุช่อง ทางการตลาดที่รับผิดชอบในการดึงดูดลูกค้าใหม่ ช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนว่าโฆษณา แคมเปญ หรือในการดึงลูกค้าเข้ามาข้อความค้นหาใดดีที่สุด
วิธีการวัดผล : อาจใช้วิธี Outsource เช่น ใช้ระบบ Call Tracking ของ Call Rail เพื่อดูว่าลูกค้าเป้าหมายมาจากไหน เป็นต้น
Cr : Call Rail
source