รวมถึงของใช้ในครัวเรือน ทั้งสินค้านำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ เน้นดีไซน์ทันสมัย ฟังก์ชันในการใช้งานครบครัน และนวัตกรรมของสินค้า อาทิ กลุ่มหมอน มีครอบคลุมทั้ง หมอนกันไรฝุ่น, หมอนพรีเมียมเกรดโรงแรม, หมอนสุขภาพ, หมอนสำหรับนอนตะแคง และหมอนเด็ก, กลุ่มผ้าปูที่นอนมีทั้งผ้าปูที่นอนใยไผ่ และใยฝ้ายธรรมชาติ, กลุ่มเครื่องครัวมีกระทะที่ผลิตด้วยนวัตกรรมเคลือบผิว 3 ชั้นแบบรังผึ้ง ไม่ติดกระทะ, หม้อกระจายความร้อนเร็ว จับไม่ร้อนมือด้วยด้ามจับเบกาไลท์ และกลุ่มคลีนนิ่งมีครอบคลุมทั้งไม้ถูพื้น, ถังปั่นสแตนเลสพรีเมียม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกมากมาย และสินค้าอีกหลากหลาย เป็นต้น
"besico" น่าจะถูกวางให้เป็นเฮ้าส์แบรนด์ที่เข้ามาช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของการเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่ได้เน้นขายสินค้าราคาถูกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของภาพลักษณ์ของการเป็นร้านค้าปลีกที่ตอบโจทย์ชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น บิ๊กซี ยังมีเฮ้าส์แบรนด์ในกลุ่มอาหารสด ใช้ชื่อว่า We Are Fresh จะครอบคลุมสินค้ากว่า 2,000 รายการ อาทิ สินค้ากลุ่มผัก ซึ่งมีให้เลือกสรรถึง 3 ชนิด ได้แก่ ผักเกษตรอินทรีย์ (Organic) 100%, ผักไฮโดรโปนิกส์(Hydroponic) และผักปลอดสารพิษ (Hygienic) สินค้ากลุ่มผลไม้ ทั้งผลไม้ไทย และผลไม้นำเข้า จากต่างประเทศ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มไข่ไก่ คัดสรรพันธุ์ดีจากฟาร์มคุณภาพ ได้มาตรฐานฟาร์มกรมปศุสัตว์ ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน เลี้ยงอย่างพิถีพิถัน ปราศจากสารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตและปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ อาทิ ปลา หมู ไก่ ไข่ และกลุ่มอาหารทะเล ทั้งปลาน้ำจืด-น้ำเค็ม กุ้งขาว และอาหารทะเลแห้ง เป็นต้น ส่งตรงจากฟาร์มเพาะเลี้ยง การันตรีความสด สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
นอกจากนี้ยังมี กลุ่มอาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) และอาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook) ที่รังสรรค์ด้วยเชฟประจำสาขาทำให้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความสด อร่อย และมีมาตรฐาน เป็นสูตรเฉพาะตัว ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว พร้อมรับประทาน และกลุ่มขนมปัง เชฟผู้เชี่ยวชาญการทำเบเกอรีโดยตรง อบสดใหม่ หอมกรุ่นทุกวัน
สุดท้ายคือสินค้าที่อยู่บนยอดของปิระมิด ทีเรียกว่า The Best ซึ่งเป็นสินค้าที่ร้านค้าปลีกไม่สามารถขาดได้ เพราะจะมีผลกระทบกับยอดขายทันที บรรดาแบรนด์ใหญ่ๆ ของซัพพลายเออร์ มักจะสามารถผลักดันตัวเองก้าวขึ้นไปอยู่ในจุดดังกล่าวได้ ด้วยการใช้ขบวนการในการสร้างแบรนด์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์อย่างต่อเนื่องและยาวนาน
การสร้างช่องว่างด้วยคุณค่าและคุณภาพของสินค้าที่เน้นในเรื่องของการแนะนำนวัตรกรรมใหม่ๆ ให้กับตลาดอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญตัวหนึ่งที่ซัพพลายเออร์นิยมใช้ในการรับมือกับการรุกคืบเข้ามาของเฮ้าส์แบรนด์ ยิ่งซัพพลายเออร์สามารถสร้างช่องว่างในเรื่องของคุณค่าของแบรนด์ได้มากเท่าไร ช่องว่างด้านราคาที่ห่างกันอยู่ระหว่างแบรนด์กับเฮ้าส์แบรนด์ก็มีผลต่อการตัดสินใจน้อยลงเท่านั้น