ที่สำคัญต้องเป็น Value ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคน ซึ่งต้องไปดูในรายละเอียดอีกว่า Value อะไรตรงใจใคร เพราะการ มาศูนย์การค้าในปัจจุบันนี้ไม่ได้มาแค่ช้อปปิ้งหรือซื้อสินค้าเหมือนในอดีต แต่เป็นการมาเพื่อใช้ชีวิต การทำให้ศูนย์การค้าเป็น Community ของคนแต่ละไลฟ์สไตล์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้
ทำให้การตลาดยุคนี้ต้องตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนแบบ Personalized เพราะบางคน Value อยู่ที่ที่ จอดรถ บางคน Value อยู่ที่ห้องน้ำ บางคนอยู่ที่ร้านอาหารที่ตกแต่งสวยๆ ซึ่งต้องมา Verified Value ให้ตรงตามทาร์เก็ตว่า แต่ละทาร์เก็ตเป็นอย่างไร จึงไม่ใช่แค่การทำ Space Management ในการ Utilize Profit เพียงอย่างเดียว
แต่ต้อง Utilize Experience เพื่อครีเอทแวลู่ด้วย จากนี้ไปรีเทลต้องขายไลฟ์สไตล์ด้วย เพราะผู้บริโภคไม่ได้มาแค่ ซื้อของ แต่ต้องเพิ่มจิ๊กซอว์เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์หรือเพิ่มโอกาสในการเดินเข้ามาในศูนย์เพิ่มมากขึ้น หรือหลากหลาย มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลต่างๆ จะเข้ามาช่วยจัดสรรในเรื่องของ Merchandising ในศูนย์ หรือ Equity ในศูนย์ โปรโมชั่นในศูนย์ โดยที่ สามารถ Tailor-made และวัดผลได้เลยว่า สิ่งที่ทำไปนั้นยอดขายร้านไหนขึ้นบ้าง ซึ่งจะช่วยต่อยอดไปสู่การสร้างความร่วมมือ ต่างๆ กับพันธมิตรและร้านค้าได้ว่าจะทำอย่างไรให้ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากกว่าแค่การจัดคอนเสิร์ตหรืออีเวนท์เท่านั้น
หรืออาจจะมีการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ เฉพาะกับศูนย์ที่เปิดใหม่เท่านั้น โดยจะเกี่ยวพันกับ 3 อย่าง คือ Plan Feel และ Do คนที่ Plan คือผู้วิเคราะห์ทั้งหมด คน Feel คือดูแลเรื่องของ Engagement โดยดูตามทาร์เก็ตว่าแต่ละกลุ่มต้อง Engage อย่างไร Create Message อย่างไรเพื่อให้ได้ Engage สูงสุดหรือต้องส่งรูปอย่างไรให้คนเปิดดู ซึ่งการ Engage นี้จะลิงค์ไปสู่ เรื่องของ Behavior Model คือไม่ใช่แค่การ Engage เพื่อรับรู้ แต่ต้องนำไปสู่การทำ Transaction ด้วย ซึ่งก็จะเท่ากับ Do นั่นเอง”
ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือการทำตลาดของกลุ่มเซ็นทรัลที่ว่านี้มีจุดแข็งอย่างหนึ่งก็คือการมีธุรกิจในเครือที่เกี่ยวเนื่องกับ ค้าปลีกมากมาย และแต่ละธุรกิจก็ถูกเชื่อมต่อเข้ามาทำงานร่วมกันตามแนวทางกลยุทธ์การ Synergy ที่เป็นนโยบายหลักของ ยักษ์ใหญ่รายนี้